
สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม (TAI)
บทบัญญัติที่มีลักษณะเด็ดขาด: Mandatory Provision
ถึงแม้ว่าคู่พิพาทจะมีเสรีภาพในการแสดงเจตนาที่สามารถร่วมกันกำหนดวิธีดำเนินการชั้นอนุญาโตตุลาการได้ แต่เสรีภาพดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติกฎหมายอนุญาโตตุลาการที่มีลักษณะเด็ดขาด (mandatory provision) ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ในเรื่องดังต่อไปนี้
1.การปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันและโอกาสต่อสู้คดี (มาตรา 25)
2.ข้อสนับสนุนข้อเรียกร้อง และข้อต่อสู้ในคำคัดค้าน (มาตรา 29)
3.การกำหนดนัดสืบพยานและพิจารณา (มาตรา 30 วรรค 3)
4.การขอให้ศาลออกหมายเรียกพยาน (มาตรา 33)
5.คำชี้ขาดตามข้อตกลงประนีประนอมยอมความระหว่างพิจารณา (มาตรา 36 วรรค 2)
6.แบบคำชี้ขาด (มาตรา 37 วรรค 1, วรรค 3 และ วรรค 4)
7.การสิ้นสุดการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ (มาตรา 38)
8.การแก้ไข เพิ่มเติม อธิบายคำชี้ขาด (มาตรา 33 (1)(2)(4)(5))
ในเรื่องวิธีดำเนินการชั้นอนุญาโตตุลาการนั้น หากข้อตกลงของคู่พิพาท หรือข้อบังคับของสถาบันอนุญาโตตุลาการที่คู่พิพาทเลือกใช้ ขัดหรือแย้ง กับบทบัญญัติที่มีลักษณะเด็ดขาด (mandatory provision) ข้างต้น ข้อตกลงหรือข้อบังคับดังกล่าวย่อมไม่สามารถใช้บังคับได้ และอาจเป็นเหตุให้คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการถูกเพิกถอนหรือไม่สามารถบังคับได้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ วิธีดำเนินการในชั้นอนุญาโตตุลาการที่เป็นบทบัญญัติเด็ดขาดนั้น คู่พิพาทจะไม่สามารถตกลงเป็นอย่างอื่นได้นั่นเอง
ที่มา
คำอธิบาย พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545
โดย รศ.ดร.ธวัชชัย สุวรรณพานิช