Accessibility Tools

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้โดยคลิกที่ปุ่มตั้งค่า

 

การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

เลือกประเภทของคุกกี้ที่คุณต้องการเปิดใช้งาน:




We use cookies to improve your experience on our website.

        

 

image

สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม (TAI)

เกี่ยวกับสถาบันอนุญาโตตุลาการimage

               สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม (Thai Arbitration Institute, Office of the Judiciary) เป็นผู้ให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการ ซึ่งเดิมก่อตั้งขึ้นตามคำสั่งกระทรวงยุติธรรม ที่ 302/2532 ลงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2532 ในชื่อของ สำนักงานอนุญาโตตุลาการ ภายใต้สังกัดของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ กระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการของศาลยุติธรรมในขณะนั้น และมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาท บุคคลทั่วไปจะรู้จักสำนักงานอนุญาโตตุลาการในนาม “สถาบันอนุญาโตตุลาการ” พร้อมกันกับที่พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับ หลังจากนั้นจึงมีการออกข้อบังคับกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยการอนุญาโตตุลาการ สถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นข้อบังคับฉบับแรกที่ใช้ในการบริหารจัดการคดีของสถาบัน

              เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มีผลใช้บังคับ โดยบัญญัติให้ศาลยุติธรรมมีหน่วยงานธุรการที่เป็นอิสระแยกออกจากกระทรวงยุติธรรม ภารกิจการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการ ของสำนักงานอนุญาโตตุลาการ จึงแยกออกจากกระทรวงยุติธรรมมาอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม โดยสำนักระงับข้อพิพาทในขณะนั้น มีภารกิจดำเนินการระงับข้อพิพาททางเลือกทั้งการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท และการอนุญาโตตุลาการ ต่อมา ในปี พ.ศ. 2559 สำนักงานศาลยุติธรรมได้ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการภายใน ภารกิจการระงับข้อพิพาทด้วยวิธีอนุญาโตตุลาการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ จึงอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

              ประเภทของข้อพิพาทที่อยู่ในการบริหารจัดการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม (Thai Arbitration Institute: TAI) มีทั้งข้อพิพาททางพาณิชย์ ข้อพิพาทระหว่างประเทศ ข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญา เช่น สัญญาก่อสร้าง เป็นต้น เป็นจำนวนกว่า 2,500 เรื่อง รวมทุนทรัพย์กว่าล้านล้านบาท ซึ่งเป็นความสำเร็จที่เกิดจากการพัฒนาสถาบันอนุญาโตตุลาการอย่างต่อเนื่อง ทั้งระบบในการบริหารจัดการข้อพิพาทและการบริการต่าง ๆ

               สำหรับการบริหารจัดการข้อพิพาทภายใต้ ข้อบังคับสำนักงานศาลยุติธรรม ว่าด้วยสถาบันอนุญาโตตุลาการ ได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ ซึ่งมีการปรับปรุงเมื่อ พ.ศ. 2560 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมล่าสุด (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2566  เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการให้มีความรวดเร็วมากขึ้น และมีมาตรฐานทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ

                 นอกจากนี้ สถาบันอนุญาโตตุลาการ (TAI) ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ยกระดับมาตรฐานการบริการและระบบการบริหารจัดการคดีให้มีความรวดเร็ว สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการมากที่สุด เช่น ระบบอนุญาโตตุลาการทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Arbitration) การชำระเงินผ่านระบบ E-Payment เป็นต้น


      สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ให้บริการ อนุญาโตตุลาการ 2 รูปแบบ คือ
               1.การอนุญาโตตุลาการในศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 
               2.การอนุญาโตตุลาการนอกศาลตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 และข้อบังคับสำนักงานศาลยุติธรรม ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ สถาบันอนุญาโตตุลาการ

 

Animation เกี่ยวกับการอนุญาโตตุลาการ